วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

***สารพัดวิธี เลิกบุหรี่ ดีแน่นอน***

***สารพัดวิธี เลิกบุหรี่ ดีแน่นอน***



ทุกคนต่างรู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่กันดีอยู่แล้วว่ามีอันตรายแค่ไหน แต่ก็ไม่รู้ทำไมหลายคนยังเลือกที่จะสูบบุหรี่กันอยู่ สารประกอบในบุหรี่นั้นมีมากมายหลายพันชนิด โดยเฉพาะตัวฉกาจอย่างนิโคติน ที่มีผลต่อโรคเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นโรคฮิตติดอับดับในคนสูบบุหรี่ สารนิโคติน มีผลทำให้หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ รวมไปถึงโรคหลอดเลือดสมอง  ทาร์ เป็นสารประกอบที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากมาย
หากเปรียบเทียบผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจได้มากกว่า ผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า สำหรับผู้ชายที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ ได้มากกว่าผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า และในคนที่สูบบุหรี่ มีโอกาสในการเพิ่มอัตราการเป็นโรคมะเร็งปอด ได้มากกว่าคนทั่วไป 10-30 เท่า จำนวนประชากรกว่าแสนคนต่อปี ต้องเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ “เรามาเลิกสูบบุหรี่กันเถอะ”
การเลิกสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องยาก คุณสามารถทำได้หากตั้งใจจริง ไอเกิล ได้รับเกียรติจาก พ.ญ.ญาดา หลุยเจริญ แพทย์อายุรกรรม โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลิกสูบบุหรี่กันค่ะ
เหตุผลดีๆ ของการเลิกสูบบุหรี่ หากคุณเลิกสูบบุหรี่แน่นอนว่าสุขภาพของคุณจะดีขึ้น ปอดสะอาดปราศจากควันพิษ หายใจโล่งขึ้น ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่แก่ก่อนวัย นอกจากเป็นผลดีต่อตัวคุณเองแล้ว ยังเป็นผลดีต่อคนรอบข้าง จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่อยู่รอบกายคนที่สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้เท่าๆ กับคนที่สูบเองไม่แตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้นหยุดทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้างซะตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ
คุณหมอกล่าวว่า “การเลิกสูบบุหรี่ให้ประสบความสำเร็จนั้น สำคัญที่จิตใจ เพราะสารเสพติดอย่างนิโคติน ส่งผลให้เสพติดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อคุณสูบบุหรี่เข้าไป สารนิโคตินจะไปสั่งการที่สมองทำให้เราคิดว่า ต้องสูบ ต้องสูบ แต่หากคุณมีความตั้งมั่น ใจแข็ง สั่งการสมองของคุณว่า ไม่สูบ ไม่สูบ หมอเชื่อว่าทุกคนต้องสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างแน่นอน”
เลิกบุหรี่ได้ด้วยตัวเอง
คุณหมอแนะนำว่า หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ ให้ใช้วิธีงดอย่างเด็ดขาด ไม่ควรใช้วิธีลดจำนวน เช่น จากเคยสูบวันละ 2 ซอง เป็นวันละซอง เพราะนั่นเป็นการจัดสรรการสูบ มากกว่าจะตั้งใจเลิกสูบจริงๆ หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
  1. ตั้งเป้าหมายว่าจะหยุดบุหรี่วันไหน กำหนดวันที่คุณตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่ อาจเป็นวันเกิดของคุณเองหรือคนที่คุณรัก หากไม่รู้จะกำหนดวันไหน เลือกเป็นวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ก็ได้นะคะ เนื่องจากเป็นวันงดสูบบุหรี่ของโลกด้วย
  2. ทิ้งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ทั้งไฟแช็ก ที่เขี่ย ไม่ว่าในบ้านหรือในรถ ทิ้งให้หมดอย่าให้เหลือ
  3. หาวิธีช่วยลดโอกาสในการสูบบุหรี่ เช่น ไปดูหนัง หรือเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า ออกไปในที่ที่ห้ามสูบบุหรี่
  4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น งดสังสรรค์ งดปาร์ตี้ เพราะในงานปาร์ตี้มักมีการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ความยับยั้งชั่งใจน้อยลง
  5. จากเคยทานข้าวแล้วต้องสูบบุหรี่ หากเปลี่ยนมานั่งเฉยๆ ก็อาจทำใจลำบาก หลังจากทานข้าวเสร็จแล้ว อาจออกจากบ้านเพื่อไปทำกิจกรรมอื่นๆ จะได้ลืมเรื่องการสูบบุหรี่
  6. บางคนติดการคีบบุหรี่ไว้ในมือ ควรหาลูกยางมาบีบแทน
  7. ในช่วงแรกที่งดสูบบุหรี่ ร่างกายจะขาดสารนิโคติน อาจทำให้หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ปากคอแห้ง ควรดื่มน้ำมากๆ  และหากิจกรรมต่างๆ ทำ เช่น ออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่เฉยๆ
  8. หากมีอาการอยากสูบ พยายามยื้อเวลาให้นานที่สุด หายใจเข้าปอดลึกๆ ดื่มน้ำให้มากๆ
  9. เมื่อเลิกสูบบุหรี่แล้ว ไม่ควรสูบอีกเลย แม้แต่อึกเดียว
ให้แพทย์เป็นตัวช่วยในการเลิกสูบบุหรี่
บางคนพยายามเลิกสูบบุหรี่หลายครั้งหลายครา แต่ไม่สำเร็จ  ส่วนหนึ่งอาจเพราะสูบมาเป็นระยะเวลานาน และสูบเป็นจำนวนมาก เกินวันละ 10 มวนขึ้นไป ทำให้ร่างกายติดสารนิโคตินอย่างหนัก จึงทำให้เลิกได้ยาก แพทย์อาจพิจารณาในการให้ยาหรือสารนิโคติน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสารทดแทนนิโคติน เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะนิโคติน หรือสเปรย์นิโคติน  และกลุ่มยาที่ไม่ใช้สารนิโคติน แพทย์จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป ซึ่งดูจากหลายส่วนประกอบกัน โดยจะต้องดูจากโรคประจำตัวของคนไข้เป็นหลัก เพราะบางโรค ไม่อาจใช้ยาบางกลุ่มได้
บุหรี่ไฟฟ้าช่วยได้จริงหรือ
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่รับรองว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ และในความเป็นจริงการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่วิธีการเลิกสูบบุหรี่ อย่างที่คนสูบพยายามยกมาเป็นข้ออ้าง แต่การสูบบุหรี่ไฟฟ้า คือ การเปลี่ยนรูปแบบการสูบ จากบุหรี่ที่เป็นยาสูบ มาเป็นบุหรี่ที่เป็นแบตเตอรี่ เท่านั้นเอง เพียงแต่ในบุหรี่ไฟฟ้า อาจจะไม่มีสารประกอบมากมายเหมือนในบุหรี่ธรรมดา เช่น ทาร์ หรือน้ำมันดิบ แต่ก็ยังมีนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดอยู่ดี ดังนั้น การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ก็เป็นการเสพติดทั้งด้านร่างกายและจิตใจเหมือนกับการสูบบุหรี่ธรรมดา
นอกจากนี้ในบุหรี่ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้ออาจมีการใส่สารนิโคตินไม่เท่ากัน ซึ่งผู้สูบไม่สามารถรู้ หรือสามารถปรับลดเองได้ เพราะไม่มีผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากยิ่งขึ้นไปอีก หากจะเลือกการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วล่ะก็ เปลี่ยนเป็นเข้ามาปรึกษาแพทย์ดีกว่านะคะ เพราะแพทย์สามารถควบคุม ปรับลดปริมาณที่ร่างกายต้องการสารนิโคตินให้สอดคล้องกับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายไป และแพทย์จะค่อยๆ ลดปริมาณลง จนไม่ต้องให้สารนิโคตินอีกต่อไป
ทำไมเลิกสูบบุหรี่แล้วจึงอ้วน
ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่มากและไม่ใช่ทุกคน โดยเฉลี่ยน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัม เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ไปกระตุ้นศูนย์อิ่มในสมอง ทำให้ไม่รู้สึกหิว และเมื่อขาดสารนิโคติน ร่างกายก็ต้องการอาหารอื่นมาทดแทน ประกอบกับสารนิโคตินมีผลต่อการเผาผลาญพลังงาน เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต่อมรับรสทำงานดีขึ้น จึงทำให้คุณทานอาหารได้อร่อยและทานได้มากขึ้น จึงอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแรกที่หยุดสูบบุหรี่นั่นเอง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรงดทานของหวาน ลดแป้งและน้ำตาล ทานผักผลไม้ ออกกำลังกาย และดื่มน้ำให้มากๆ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างไร้กังวลค่ะ
คุณหมอขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่กันด้วยนะคะ “อย่างที่หมอได้บอกไปแล้วว่าการเลิกสูบบุหรี่ สามารถทำได้แน่ถ้าคุณตั้งใจ ตามสถิติแล้วจำนวน 9 ใน 10 คน สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตัวเอง นั่นหมายถึง 90% ที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องเดินเข้ามาหาหมอ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่คุณจะทำ หมอขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ” แต่ใครที่พยายามเลิกแล้วยังเลิกไม่ได้ก็ลองเข้ามาปรึกษากับคุณหมอกันได้นะคะ คุณหมอบอกว่ายินดีและพร้อมให้คำปรึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนค่ะ
ประวัติคุณหมอ
คุณหมอคนเก่งของ ไอเกิล ฉบับนี้คือ พ.ญ.ญาดา หลุยเจริญ แพทย์อายุรกรรม โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตศูนย์ระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
คุณหมอจบแพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ.2545 ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป เมื่อปี พ.ศ. 2551 และวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบหายใจ เมื่อปี พ.ศ. 2553
คุณหมอมีเรื่องราวที่ประทับใจของคนไข้รายหนึ่งอยากเล่าให้ฟัง คนไข้ผู้ชายคนนี้ได้เข้ามาปรึกษาคุณหมอเพื่อต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะได้พยายามเลิกด้วยตัวเองมาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ คุณหมอก็ช่วยดูแลให้ แต่อยู่มาวันหนึ่งคุณคนนี้ก็เดินลงมาพบกับคุณหมอ แล้วก็บอกกับคุณหมอว่า “คุณหมอครับ วันนี้ผมเลิกสูบบุหรี่ได้แล้วครับ ลูกของผมเพิ่งคลอดวันนี้เอง ผมจะทำเพื่อลูก” โดยที่คุณหมอไม่ต้องให้ยาในการช่วยเลิกบุหรี่เลย คุณหมอเพียงแต่ให้กำลังใจ และให้คำปรึกษาอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว
นี่แหละค่ะ คือบทพิสูจน์ของคำว่า “ทุกอย่างมันอยู่ที่ใจ” เราต้องทำได้ถ้าใจสู้  คุณหมอพร้อมให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ
Ways to Quit Smoking
Everyone knows the danger of smoking cigarettes, but there are still so many people who choose to continue doing so.  Cigarettes contain thousands of harmful chemicals.  Nicotine is the main villain that causes cardiovascular disease, the chart-topping disease in smokers.  Nicotine decreases blood flow and constricts our vascular system.  So it will also cause cerebral vascular disease, too.  Another composite of cigarette is tar, a substance that can cause cancer.
Women who smoke are six times more likely to develop cardiovascular disease than non-smoking women.  As for smoking men, the risk is three times higher.  And if we think about cancer, smokers have 10 – 30 times higher chance of developing cancer than non-smokers.  Over a hundred thousand Thais lost their lives annually due to cigarette smoking.  Isn’t it time to quit yet?
Quitting cigarettes is not a hard thing.  Anyone can do it if they really want to.  Just ask Dr. Yada Louischaroen, specialist in pulmonary and critical care medicine.  The best reason to quit is for your own health, if not for anything else.  Clean air to clear the lungs will make it easier to breath and decrease the risk of many diseases and premature aging.  It also benefits people around you.  Second-hand smokers have the same risk of cancer as smokers themselves.  So quit today for yourself and your loved ones.
Dr. Yada shares that will-power is the key to kick the habit.  Nicotine is an addictive drug that affects both the body and mind.  “It will tell our brain to think that we need to take a puff.  If you have the will-power and strong mind to tell your brain to stop, I’m sure that everyone can do it,” Dr. Yada encourages.
DIY Kick the Habit
Dr. Yada recommends that if you want to quit smoking, you should do it cold-turkey.  Do not reduce the amount of consumption.  According to her, that is just management more than will-power to quit.  Here are her tips:
  1. Set a goal on a deadline, such as your birthday, a special occasion, etc.  If you can’t choose, try May 31st, the World No Tobacco Day.
  2. Throw every related item away:  ashtrays, lighters from the house or the car.  Don’t leave a trace.
  3. Reduce the chance of smoking by going to a movie or the mall, any place that will not allow smoking.
  4. Change your habits, such as stop partying and socializing.  Parties are full of alcohol and they will diminish self-discipline.
  5. Try breaking old habits.  If you are used to smoking after a meal, then try doing some other activity that will take your mind away from it.
  6. Hold a ball in your hand instead of a bud.
  7. You may be affected by mood swings at first due to the lack of nicotine.  Drink plenty of water and exercise to take off the edge.
  8. If you have the urge for a smoke, try breathing in deeply and drink lots of water.
  9. If you can quit, you will never want to do it again.
 Physician-Assisted Quitting
          Some people have tried to quit many times unsuccessfully.  It could be that they have been smoking for a long time and more than 10 cigarettes per day.  The body is heavily addicted to nicotine and quitting is very difficult.  A doctor can help in such cases by prescribing one of two things.  He may consider nicotine substitute, such as nicotine gum, patch or spray or non-nicotine drugs.  Medical history is important for individualized treatment plan to avoid adverse effects in some patients.
What about Electronic Cigarettes?
At present, there is no clinical proof that electronic cigarettes will help smokers quit.  In reality, electronic cigarettes are not therapy, but a transition from smoking real cigarettes to battery-operated cigarettes.  It may not contain all the composition of a regular cigarette, such as tar, but it still contains nicotine just the same and is as addictive as the real thing.
The nicotine content may not be the same in all brand.  So, unsuspecting smokers may increase their nicotine intake after all.  A physician is more qualified to monitor and modulate the amount of nicotine.  He can effectively decrease the amount of nicotine to help patients become independent on the substance.
Why do we gain weight after we quit?
Although the average weight gain is 2 – 3 kg, not all ex-smokers experience it.  Nicotine will stimulate the brain and tell it to not feel hungry.  When that signal is missing, the body finds food as replacement.  Nicotine also increases energy consumption so that when a person quits smoking and the body returns to its normal stage, he/she may experience craving.  Also, the tastes buds are not free to enjoy the senses.  It is best to reduce carbohydrates and sugar intake.  Eat more fruits and vegetable, while take up exercise.  Drink plenty of water, too.
Dr. Yada encourages everyone to kick the habit.  “Statistics showed that 9 of 10 smokers can quit by themselves.  With a 90% success rate, you don’t need to visit a doctor.  It’s not that difficult.”  But if anyone has already tried and failed to kick the buds, Dr. Yada will be happy to offer her advice to help get it done.

ขอขอบคุณข้อมูล ที่มา : http://www.aiglemag.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น